สะเดา,สะเลียม,จะตัง,สะเดาบ้าน,เดา,ไม้เดา,กาเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica Juss. var. Siamensis Valeton

วงศ์ : Meliaceae

ชื่อสามัญ : Holy tree, Pride of China, Indian Margosa Tree, Neem Tree

ชื่ออื่น : กะเดา สะเลียม จะตัง สะเดาบ้าน เดา ไม้เดา กาเดา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร เส้นรอบวงของต้น 80-200 เซนติเมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายเจดีย์ต่ำแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกของล าต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็ก ๆ หรือเป็นสะเก็ดเป็นร่องยาวตามต้น แต่เปลือกของกิ่งอ่อนเรียบ ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยฐานใบไม่เท่ากัน รูปใบหอกปลายสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร สะเดาจะผลิใบใหม่พร้อมกับผลิดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวมี 5 กลีบ

ผล รูปกลมรีอวบน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม.ผลอ่อนสีเขียว แก่ผลสีเหลือง ผลมีเมล็ดเดียว แข็ง

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง

การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน

เอกสารอ้างอิง : โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Se Read more

กระโดนบก,กระโดนโคก,กะนอน,ขุย,แซงจิแหน่,เส่เจ๊อะบะ,ปุย,ปุยกระโดน,ปุยขาว,ผ้าฮาด,พุย,หุกวาง,ต้นจิก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya sphaerica Roxb.

วงศ์ : Barringtoniaceae

ชื่อสามัญ : Tummy – wood

ชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์ : Careya arborea Roxb.

ชื่ออื่น : กระโดนโคก กะนอน ขุย แซงจิแหน่ เส่เจ๊อะบะ ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว ผ้าฮาด

 พุย หุกวาง ต้นจิก ผักกระโดน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 8-20 เมตร มีกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมขนาดเล็กแน่นทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาหนา และแตกออก เป็นแผ่นๆ บางที่อาจถูกไฟป่าเผาทำให้เปลือกออกสีดำคล้ำ

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่เรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง ขนาดใบกว้าง 12-15 ซม. ยาวประมาณ 12-20 ซม. ขอบใบหยิกออกแบบสลับ ก้านใบยาว 2-3 ซม.

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวช่อ ช่อ ละ 2-3 ดอก กลีบดอกและกลีบรองดอกอย่างละ 4 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวนวลและเหลืองนวลร่วงง่าย กลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้วโคนกลีบดอกเชื่อมกัน เป็นรูประฆังเกสรตัวผู้ยาวเป็นปลายพู่สีแดงจำนวนมาก

ผล ผลโตกลมกว้างประมาณ 5 ซม. ยาว 6.5 ซม. มีสีเขียวภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปไข่

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย เป็นไม้ที่ทนความแห้งแล้ง และแสงแดดได้ดี พบทั่วไปของทุกภาคตามป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งนา

การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน

สรรพคุณ   

ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  เปลือกต้น แก้น้ำกัดเท้า แก้โรคกระเพาะอาหาร สมานแผลภายใน

ตำรายาไทย  ใช้  เปลือกต้น รสฝาดเมา แช่น้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้พิษงู แก้อักเสบจากงูกัด ใช้เป็นยาสมาน ใช้สมานแผล แก้เคล็ดเมื่อย  ใบ รสฝาด ใช้รักษาแผลสด โดยนึ่งให้สุกใช้ปิดแผล หรือปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล ดอก รสสุขุมบำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ  ผล รสจืดเย็น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงหลังคลอด ดอก และน้ำจากเปลือกสด ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง กินเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ และเป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ใบอ่อน และยอดอ่อน รับประทานสดเป็นผักจิ้ม มีรสฝาด ต้น ผสมกับเถายางน่อง และดินประสิว เคี่ยวให้งวด ตากแห้ง ใช้ปิดแผลมีพิษ ปิดหัวฝี เมล็ด รสฝาดเมา เป็นพิษ

ข้อควรระวัง

             เมล็ดเป็นพิษ รากมีพิษ ใช้เบื่อปลา ส่วนใบและยอดอ่อนมีปริมาณกรดออกซาลิค (oxalic acid) ในปริมาณค่อนข้างสูงอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

เอกสารอ้างอิง :

  1. โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
  2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Se Read more

เพกา,ลิ้นฟ้า,ลิ้นไม้,ลิ้นช้าง,มะลดไม้,มะลิ้นไม้,ลิดไม้,หมากลิ้นฟ้า,บักลิ้นฟ้า,บักลิ้นงู,หมากลิ้นก้าง,กาโด้โด้ง,ดอกะ,ด๊อกกะ,ดุแก, เบโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum Vent.

วงศ์ : Bignoniaceae

ชื่อสามัญ : Indian Trumpet Flower

ชื่ออื่น : ลิ้นฟ้า ลิ้นไม้ ลิ้นช้าง มะลดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ หมากลิ้นฟ้า บักลิ้นฟ้า บักลิ้นงู หมากลิ้นก้าง กาโด้โด้ง ดอกะ ด๊อกกะ ดุแก เบโก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 3 – 20เมตร แตกกิ่งก้านน้อยกิ่งเปราะหักง่าย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา บางครั้งพบแตกเป็นร่องตื้นเพียงเล็กน้อย มีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ที่เกิดจาก รอยร่วงหล่นของใบ ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ (lenticel) อยู่กระจัดกระจายทั่วไป

ใบ ประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบเรียงตรงข้างชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ก้านใบยาว 30 – 200 เซนติเมตรใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร โคนใบสอบกลมหรือรูปไตมักเบี้ยว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบสีเขียวเข้ม ก้านใบย่อยยาว

ดอก ดอกช่อแบบ rapsule ออกที่ปลายยอดมีขนาดใหญ่ ก้านช่อดอกยาว 50-150 เซนติเมตร มีดอกย่อย 20-35 ดอก กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วง แดงหนาย่น บานกลางคืนร่วงตอนเช้า

ผล ผลแบบ capsule มีลักษณะเป็นฝักแบนยาวคล้ายรูปดาบห้อยลง (pendulous)อยู่เหนือเรือนยอดฝัก ฝักกว้างประมาณ 5 – 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 60 – 120 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก รูปร่างแบนบาง มีปีกที่บางใสหรือมีเยื่อบาง ๆ อยู่ล้อมรอบ เมล็ดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ไม่มี endosperm

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนมีการระบายน้ำดี

การใช้ประโยชน์ ฝักอ่อน ดอกอ่อน ยอดอ่อน เพกา

เอกสารอ้างอิง : โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Se Read more

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora Desv.

วงศ์ : Papilionaceae

ชื่อสามัญ : Sesban Agasta

ชื่ออื่น ๆ : แค แคแดง แคขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร โตเร็วมีกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีรอยขรุขระหนา ปลือกในที่มีสีชมพูมีรสฝาด

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีขนาดเล็กเรียงเป็นคู่ ใบย่อยมี 30-50 ใบ

ดอก มีสีขาวหรือสีแดงคล้ายดอกถั่วเป็นช่อและออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมี 2-4 ดอก ยาว 6-10 ซม.กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย

ผล เป็นฝักแบนยาวประมาณ 8-15 ซม. ฝักเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดเรียงอยู่กลางแถวเดียว คล้ายเมล็ดถั่วขนาดเล็กประมาณ 5 มิลลิเมตรลักษณะแข็งกลมแบนสีน้ำตาลอ่อนหนึ่งผลมีหลายเมล็ด

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย : ขึ้นกระจายทั่วไป ออกดอกตลอดปีขึ้นได้ทั่วไปแม้แต่สภาพดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ทนแล้งได้

การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน

เอกสารอ้างอิง : โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคป่า,แตเก็ดถวา,แคขาว,แคทราย,แคแน,แคฝอย,แคพูฮ่อ,แคยอดดำ,แคยาว,แคอาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.

วงศ์ : Bignoniaceae

ชื่ออื่น : แตเก็ดถวา แคขาว (เชียงใหม่) แคทราย (นครราชสีมา) แคแน แคฝอย (ภาคเหนือ)

แคป่า (ร้อยเอ็ด ลำปาง) แคพูฮ่อ (ลำปาง) แคยอดดำ (สุราษฎร์ธานี) แคยาว แคอาว(ปราจีนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นตรงมักแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอมเทาและมีประสีดำขาว เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ทั่วไป เปลือกในสีนวลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ค่อนข้างทึบกิ่งอ่อน เกลี้ยง มีช่องระบายอากาศทั่วไปกิ่งแห้งออกสีดำ

ใบ เป็นช่อ ช่อใบติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ช่อใบรูปขนนก ยาว 12-35 เซนติเมตร ใบช่อหนึ่งๆ มีใบย่อยรูปรีหรือ รูปรีแกมรูปไข่กลับ 3-7 ใบ ใบย่อยจะติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ส่วนปลายสุดของช่อใบจะเป็นใบเดี่ยว ๆ ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร โคนใบสอบและเบี้ยว ปลายใบสอบเรียวแหลม เนื้อใบบางเกลี้ยง เส้นแขนงใบมี 5-7 คู่ มีตุ่มหูดรูปรีๆ ตามยาว เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบทางด้านท้องใบ ขอบใบหยักตื้นๆ หรือเรียบ ก้านใบย่อยยาว 1-3 เซนติเมตร

ดอก ดอกโตสีขาว รูปแจกันทรงสูงหรือรูปแตร ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่ง ช่อดอกแบบติดดอกสลับ ยาว 2-3 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกอยู่รวมกัน 3-7 ดอก กลีบฐานดอกทรงรูปกรวย ยาว 3-5เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งจะเป็นจะงอยผิวคล้ำ โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกตอนครึ่งล่างส่วนครึ่งบนจะบานโป่งออก ทั้งหมดยาว 11-19 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ แผ่กว้างตั้งฉากกับตัวหลอด เมื่อบานเต็มที่กว้างถึง 8 เซนติเมตร ผิวกลีบและขอบกลีบจะย่นเป็นริ้ว เกสรตัวผู้มี 2 คู่ สั้นหนึ่งคู่และยาวหนึ่งคู่ติดอยู่โคนผนังกลีบดอกด้านใน รังไข่รูปขอบขนานภายในมี 2 ช่อง แต่ละช่อมีไข่อ่อนมาก

ผล เป็นฝักชนิดเปลือกแข็ง 2 ชั้น รูปขอบขนาน ปลายแหลมยาวถึง 85 เซนติเมตร กว้าง 1.2-2 เซนติเมตร ฝักคดโค้งหรือบิดไปมา ผิวหนา เรียบและแข็งเป็นแผ่นหนัง จะมีจุดประสีอ่อนกว่าสีพื้นทั่วไปเมล็ด แบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บาง เรียงตัวตามความยาวของฝัก มีเยื่อบาง ๆ ติดบริเวณหัวและท้ายของเมล็ดคล้ายปีก ยาว 2.2-2.8 เซนติเมตร กว้าง 5-8 มิลลิเมตร

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด พบมากในที่ลาดเชิงเขา

เอกสารอ้างอิง : โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by SierraSunrise), www.phargarden.com, เว็บไซต์ kaentong.com (by kaentong)

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Se Read more

ขี้เหล็ก,ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กใหญ่, ผักจี้ลี้, แมะขี้เหละพะโดะ, ยะหา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea (Lamk.) Irwin et Barneby

ชื่อวงศ์ : Fabaceae (Leguminosae)

ชื่อพ้อง : Cassia florida Vahl, Cassia siamea Lam.

ชื่อสามัญ : Cassod tree, Siamese senna, Thai copperpod, Siamese cassia

ชื่อท้องถิ่น : ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กใหญ่, ผักจี้ลี้, แมะขี้เหละพะโดะ, ยะหา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 ลำต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่ม เปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดง

เรื่อๆ

ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาว 4

เซนติเมตรใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว

ดอก ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ

กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน

ผล เป็นฝัก แบบยาวและหนา

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบได้ทั่วไปทุกภาค

การใช้ประโยชน์ ใบอ่อนและดอก นำามาแกงขี้เหล็ก

เอกสารอ้างอิง : โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Se Read more

ผลก้ามปู หมากเม้า บ่าเหม้า,หมากเม่า,มะเม่า ต้นเม่า,เม่า,เม่าเสี้ยน, หมากเม่าหลวง, มะเม่าหลวง, มัดเซ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma puncticulatum Miq.

ชื่อวงศ์ : Phyllanthaceae

ชื่อพื้นเมือง : หมากเม้า บ่าเหม้า (ภาคเหนือ), หมากเม่า (ภาคอีสาน), มะเม่า ต้นเม่า (ภาคกลาง), เม่า, เม่าเสี้ยน, หมากเม่าหลวง, มะเม่าหลวง, มัดเซ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม สูงประมาณ 5-10 เมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็ง มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ ปลายนาทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจังหวัดกาญจนบุรีจะมีต้นมะเม่าในป่าเป็นจำนวนมาก และมะเม่ายัง เป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน ในเทือกเขาภูพานของจังหวัดสกลนครอีกด้วย

ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ใบออกหนาแน่นเป็นร่มเงาได้เป็นอย่างดี

ดอก ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและซอกใบ ช่อดอกคล้าย พริกไทย ลักษณะของดอกเป็นดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือน เมษายน และสุกในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

ผล ลักษณะของผลเป็นทรงกลม ผลมีขนาดเล็กและเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม มีรส เปรี้ยว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดำในที่สุด โดยผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด เมล็ด กรุบกรับ ในหนึ่งผลจะมีหนึ่งเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ประโยชน์ ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง : โครงการสำรวจความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติ ทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

เรี่ยบเรียงโดย : เว็บบ้านสวนไอที

แคบ้าน,แค,แคแดง,แคขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Se Read more