
ถังแซทหรือถังบำบัดน้ำเสียภายในบ้าน ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะที่ภายในถังประกอบด้วยบ่อเกรอะและบ่อซึมโดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวกำจัดสิ่งปฎิกูลที่ทิ้งออกจากตัวบ้าน ไม่ว่าจะมาจากห้องน้ำ หรือห้องครัว ถังบำบัดน้ำเสียมีสองประเภทคือแบบไม่เติมอากาศ และแบบเติมอากาศ (Aerobic Bacteria)ซึ่งจะใช้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีช่วยให้การย่อยสลายสารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถังบำบัดน้ำเสียถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับพื้นที่ที่ชั้นดินที่น้ำซึมผ่านได้ยากเช่นดินเหนียว ดังนั้นถังบำบัดน้ำเสียจึงเป็นตัวเลื่อกที่ดี สำหรับดินประเภทนี้ เมื่อสิ่งปฎิกูลเข้าสู่ถัง ก็จะเกิดกระบวนการย่อยสลาย จนสามารถที่จะปล่อยน้ำที่สะอาดพอที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำสาธารณะได้ แทนบ่อเกรอะแบบเดิมที่นำเอาบ่อซีเมนต์กลมมาเรียงต่อกัน โดยบ่อแรกเป็นบ่อเกรอะและบ่อที่สองเป็นบ่อซึม ซึ่งซึมลงชั้นดินต่อไปอาจใช้เวลานาน จนเกิดปัญหาส่วมเต็มบ่อยครั้ง
วิธีคำนวญขนาดถังบำบัดน้ำเสีย
โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปจะระบุขนาดที่เหมาะสมไว้ที่ตัวผลิตภัณฑ์ หรือต้องการคำนวณขนาดถังบำบัดเองก็สามารถทำได้ โดยใช้สูตรง่ายๆดังนี้
ขนาดถังบำบัดน้ำเสีย (ลิตร) = จำนวนผู้อยู่อาศัย X ปริมาณน้ำเสีย (ร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ต่อวัน) X เวลาที่ใช้บำบัด (เฉลี่ย 2 วัน)
ตัวอย่าง : โดยทั่วไปคนเราใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตรต่อคนต่อวัน ถ้าในบ้านมีคนอาศัยอยู่ 3 คน จะได้สมการดังนี้ (3X0.8X200X2= 960 ) ดังนั้นควรเลือกถังบำบัดน้ำเสียขนาด 1,000 ลิตร